วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติและความหมายนาฎศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยเป็นการเล่นเครื่องดนตรีหลายๆชนิดการละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะกำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วย3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราชที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ฌ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดูนับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนีเรียกว่าคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมันกรุงศรีอยุธยาตารมประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน
นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี
หรือบางที่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
       1.1 รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้อมมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็นการแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว
รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
      1.2 รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้ เพราะการรำคู่นี้เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน
เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
          1.2.1 รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนาสุพรรณมัจฉา เป็นต้น
          1.2.2 รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่าการรำอาวุธ รำกระบี่กระบอง
      1.3 รำหมู่ รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่นรำอวยพรชุดต่างๆ
      1.4 รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร
 2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง
เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆเช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆเดียว เป็นต้น ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
       2.1 ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้
ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
      2.2 ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส
อาจเป็นระบำที่ได้แรงบัลดาลใจที่ผู้ประดิษฐ์ต้องการสื่ออาจเป็นเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลายเช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรราศสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น
      ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุด
ได้เกิดขึ้นมาจากแรงบัลดาลใจของผู้คิดที่จะถ่ายทอดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต การแต่งกาย ดนตรี เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้น จะเรียกตาม ภาษาท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่นภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่นป้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่น ทางภาคอิสานเช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว เซิ้งสวิง เป็นต้น การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือ เกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศสามารถปรับปรุงหรื่อเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
 3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น
การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
       3.1 ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน
       3.2 ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต


  4. มหรสพ' คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น

ที่มานาฎศิลป์ไทย

การแสดงละครฟ้อนรำระบำเต้น เป็นศิลปะที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน มีวิวัฒนาการและการพัฒนาการเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องที่ไปสู่การละเล่นร้องรำทำเพลงแล้วมาเป็นการแสดงที่เล่นเป็นเรื่องเป็นราว ที่มาของการแสดงเหล่านี้ได้มีผู้สันนิษฐานถึงมูลเหตุของที่มาไว้หลายประการ ซึ่งอาจประมวลได้ดังนี้

  

        ๑. เกิดจากการเลียนแบบธรรมชาติ

          โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวอิริยาบถตามธรรมชาติของมนุษย์  เช่น  แขน ขา หน้าตา  หรือการแสดงความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในกิริยาอาการต่างๆ  เช่น  ความโกรธ ความรัก โศกเศร้า  เสียใจ  มนุษย์ได้ใช้ลักษณะท่าทางต่างๆ เหล่านี้ในการสื่อความหมาย  และนำมาดัดแปลงให้นุ่มนวลน่าดู ชัดเจนไปกว่าธรรมชาติ จนเกิดเป็นศิลปะการฟ้อนรำขึ้นและใช้เป็นการแสดง  โดยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ  จนกระทั่งเกิดเป็นท่าทางการร่ายรำที่งดงามที่เป็นพื้นฐานของการฟ้อนรำ

        ๒.เกิดจากการมนุษย์คิดประดิษฐ์หาเครื่องบันเทิงใจ

 เมื่อหยุดพักจากภารกิจประจำวันเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย โดยเริ่มจากการเล่าเรื่องต่างๆ สู่กันฟัง เช่น นิทาน นิยาย ต่อมาได้มีวิวัฒนาการโดยนำเอาดนตรีมาประกอบการเล่าเรื่องเหล่านั้น  ภายหลังมีการประดิษฐ์ท่าทางต่างๆ และมีการพัฒนารูปแบบไปเป็นการร่ายรำจนถึงขั้นการแสดงเป็นเรื่องราว

        .เกิดจากการละเล่นเลียนแบบของมนุษย์ 

ที่มักหาความสนุกสนานและความเพลิดเพลินจากการเลียนแบบแม้เรื่องราวของตนเอง เช่น เลียนแบบท่าทางของพ่อ แม่ ครู ผู้ใหญ่ หรือเลียนแบบธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น  การเล่นงูกินหาง     การเล่นขายของ ความสนุกของการเล่นเลียนแบบอยู่ที่การได้เล่นเป็นคนอื่น   ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ในเรื่องของการแสดงขั้นต้นของมนุษย์   ที่นำไปสู่  การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์

        .เกิดจากการเซ่นบวงสรวงบูชาเทพเจ้า  

     ในสมัยก่อนมนุษย์มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า พระผู้เป็นเจ้า    สิ่งศักดิ์สิทธิ์  และจะเคารพบูชาในสิ่งที่ตนนับถือ  เมื่อมนุษย์เกิดความหวั่นกลัวจะมีการเคารพสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เริ่มจากการอธิษฐานบวงสรวงบูชาด้วยอาหาร  ต่อมามีการบวงสรวงบูชาด้วยการร่ายรำ มีการเล่นเครื่องดนตรีดีดสีตีเป่า  และมีการร้องประกอบ  เพื่อให้เทพเจ้าพอใจ มีความกรุณาผ่อนผันหนักเป็นเบา  หรือประทานให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์กับบทบาททางสังคม

นาฏศิลป์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สร้างสรรค์สุนทรียะด้านจิตใจและอารมณ์ให้กับคนในสังคมและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตและกิจกรรมของคนในสังคม ทั้งที่เป็นกิจกรรมส่วนตัวและกิจกรรมส่วนรวม ดังพิจารณาได้จากบทบาทของนาฏศิลป์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทางด้านต่าง ๆ เช่น บทบาทในพิธีกรรมรัฐพิธีและราชพิธี การแสดงนาฏศิลป์ในพิธีกรรมต่าง ๆ สามารถแสดงถึงความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติของภูตผีปีศาจและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น การฟ้อนรำในพิธีรำผีฟ้าเพื่อรักษาโรค หรือสะเดาะเคราะห์ของภาคอีสาน การฟ้อนผีมดผีเม็งในภาคเหนือ ที่จะมีผู้หญิงมาเข้าทรง เป็นต้น


นาฏศิลป์ไทยในสังคมปัจจุบัน

เมื่อกล่าวถึงคำว่า นาฏศิลป์ไทย ทุกท่านคงนึกถึงภาพ คนแต่งกายแบบละคร สวมชฎา มงกุฎ ทำท่าร่ายรำตามทำนองเพลง และมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่โบราณ คร่ำครึ ไม่เข้ากับสังคมยุคสมัยปัจจุบัน ที่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องรวดเร็ว ฉับไว และดูเป็นสากล แต่คงไม่มีใครทราบว่าสิ่งที่ท่านมองเห็นว่าล้าหลังนั้น เป็นเครื่องยืนยันถึงอดีต ความเป็นมาและวัฒนธรรมที่สั่งสม อันมีคุณค่ายิ่งของชาติไทย
คำว่า นาฏศิลป์ ตามความหมายของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
นาฏ – น. นางละคร นางฟ้อนรำ ไทยใช้หมายถึง หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ
นาฏกรรม - น. การละคร ฟ้อนรำ
นาฏศิลป์ - น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ
นอกเหนือจากนี้ ยังมีท่านผู้รู้ได้ให้ความหมายของคำว่า นาฏศิลป์ ในแง่มุมต่างๆ ไว้ดังนี้
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ ทรงอธิบายถึงกำเนิดและวิวัฒนาการของนาฏศิลป์ที่ผูกพันกับมนุษย์ ดังนี้
“ การฟ้อนรำ ย่อมเป็นประเพณี ในเหล่ามนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ไม่เลือกว่าจะอยู่ ณ ประเทศถิ่นสถานที่ใดในพิภพนี้ คงมีวิธีการฟ้อนรำตามวิสัยชาติของตนด้วยกันทั้งนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ถึงแม้สัตว์เดรัจฉานก็มีวิธีฟ้อนรำ ดังเช่น สุนัขกาไก่ เป็นต้น เวลาใดที่สบอารมณ์มันเข้ามันก็เต้นโลดกรีดกรายทำกิริยาท่าทางได้ต่างๆ ฯลฯ “
อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ได้ให้ความหมายของนาฏศิลป์ ไว้ดังนี้
“ คำว่า นาฏยะ หรือ นาฏะ ความจริงมีความหมายรวมเอาศิลปะ 3 อย่างไว้ด้วยกัน คือ การฟ้อนรำหนึ่ง การบรรเลงดนตรีหนึ่ง และการขับร้องหนึ่ง หรือพูดอย่างง่ายๆ คำว่า นาฏยะ มีความหมายรวมทั้งการฟ้อนรำขับร้องและประโคมดนตรีด้วย ไม่ใช่มีแต่ความหมายเฉพาะศิลปะแห่งการฟ้อนรำอย่างเดียวดั่งที่ท่านเข้าใจกัน “
สรุปความได้ว่า นาฏศิลป์ เป็นศิลปะที่มนุษย์แสดงออกเมื่อเกิดอารมณ์ขึ้น มีวิวัฒนาการมาพร้อมความเจริญของมนุษย์ มีการจัดระเบียบแบบแผนให้เกิดความงดงาม ประกอบไปด้วย การร้อง การรำ และการบรรเลงดนตรี
การแสดงนาฏศิลป์ของไทย ปรากฏในรูปแบบของการละคร ฟ้อน รำ ระบำ เต้น การแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ซึ่งมีการขับร้องและการบรรเลงดนตรี
รวมอยู่ด้วย ถือกำเนิดขึ้นมาจากธรรมชาติ ความเชื่อ ศาสนา ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ผนวกกับได้รับอารยธรรมจากประเทศอินเดียที่มีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการทางด้านต่างๆ ต่อมาได้มีการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จนกลายมาเป็นนาฏศิลป์ไทยที่มีแบบแผนอย่างเช่นในปัจจุบัน
นาฏศิลป์ไทยในอดีตมีบทบาทสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย บทบาทในงานสำคัญของหลวงพิธีกรรมต่างๆของชาวบ้าน รวมถึงการสร้างความบันเทิงให้กับผู้คนในสังคม เช่นการแสดงลิเก ละคร โขน เพลงพื้นเมืองต่างๆ
เมื่อสังคมยุคปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นาฏศิลป์ไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตัวเองจากที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างในอดีต มาเป็นบทบาททางด้านต่างๆที่สามารถจำแนกบทบาทให้เห็นได้ ดังนี้

1. บทบาททางการศึกษา การแสดงออกทางด้านศิลปะนั้นถือเป็นศาสตร์และศิลป์ ในอดีต
การเรียนของศาสตร์แขนงนี้มักอยู่ในแวดวงที่จำกัดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีการเปิดกว้างมากขึ้น มีการจัดตั้งสถานศึกษาสำหรับการสอนนาฏศิลป์ขึ้นหลายแห่ง ทั้งของรัฐ ที่สอนทางด้านนาฏศิลป์ มีหน้าที่ทำนุบำรุงรักษาศิลปะโดยตรง สถานศึกษาของเอกชนที่สอนนาฏศิลป์ให้แก่กุลบุตรกุลธิดา เพื่อส่งเสริมความสามารถและบุคลิกภาพรวมถึงส่งเสริมลักษณะนิสัย
2. บทบาททางธุรกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งบทบาทนี้เห็นได้อย่างชัดเจน ในการ
แสดงตามงานเทศกาลท่องเที่ยวต่างๆ ที่ภาครัฐหรือเอกชนจัดขึ้น จะต้องมีนาฏศิลป์ไทยเข้าไป
เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบมหรสพสมโภชหรือ การแสดงแสง เสียงสื่อและผสม โดยศิลปะการแสดงเหล่านี้ถือเป็นจุดขายที่สำคัญ นอกเหนือจากนี่ยังมีโรงละครของเอกชนเปิดทำการแสดงเพื่อให้ชาวต่างชาติหรือผู้ที่สนใจเข้าชมดำเนินการในรูปแบบธุรกิจอย่างชัดเจน
3. บทบาทในการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์ของชาติ ปัจจุบันวัฒนธรรมต่างชาติมี
บทบาทอย่างมากในสังคมไทย และเป็นไปได้ว่าอนาคตประเทศไทยอาจถูกกลืนทางวัฒนธรรมได้ เพื่อให้ความเป็นไทยคงอยู่ สิ่งที่จะช่วยได้นั่นคือ เอกลักษณ์ของชาติในด้านต่างๆ โดยใช้วิธีการเผยแพร่ อนุรักษ์ และสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
จะเห็นได้ว่านาฏศิลป์ไทยได้ปรับตัวให้ดำรงอยู่ได้ในสังคมไทย ช่วยสร้างอาชีพให้กับผู้คน สร้างเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างสังคมหนึ่งกับอีกสังคมหนึ่ง ส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติให้ชัดเจน ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศ และอื่นๆอีกมากมายที่สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม จึงเห็นได้ว่า สิ่งที่บางท่านอาจมองอย่างไม่เข้าใจ ดูว่าไม่เป็นสากลหรือเข้ากับยุคสมัย แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญระดับชาติที่ช่วยให้ชาติไทยดำรงอยู่ได้ เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองไม่เหมือนประเทศใด จงภูมิใจและช่วยกันรักษาสิ่งนี้ให้คงอยู่กับประเทศไทยต่อไปตราบนานเท่านาน สมดัง ปรัชญาที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ในโอกาสครบรอบ 60 ปี วิทยาลัยนาฏศิลป ว่าไว้ดังนี้



“ สาธุ โข สิปปก นาม อปี ยาทิสกีทิส “
“ ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่งก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ”