บทสังเกตุการณ์

แนะนำตัวผู้เชี่ยวชาญ 
ชื่อ อาจารย์ วิลาวัลณ์ วัชรเกียรติศักดิ์ อาจารย์สอนนาฏศิลป์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีประสบการณ์การสอนนาฏศิลป์มาตั้งแต่ปี 2519 เดิมสอนอยู่ี่โรงเรียนประดินเดชา และโอนย้ายมาที่มหาวิทยาลัยครูนาฏศิลป์นครราชสีมา ปัจจุบันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย
ความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทยหรือศิลปะประจำชาตินั้น จริงๆแล้วศิลปะประชาตินั้นเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ ในแต่ละภูมิภาคในแต่ละกลุ่มนะคะมีคล้ายๆกับการเกิดนาฏศิลป์ของชาติอื่นๆ การเลียนแบบธรรมชาติการแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์และก็วิวัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆเพิ่มเติมสิ่งสวยงามทุกอริยาบทความต้องการตามอารมณ์ต่างๆจนเอกลักษณ์ประจำชาติของแต่ละชาติ ซึ่งชาติไทยก็มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนประเทศอื่น มีรายละเอียดในเรื่องของลีลาการรำการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายแล้วก็เป็นศูนย์รวมศิลปะแขนงต่างๆในนาฏศิลป์ นาฏศิลป์จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีศิลปะทางด้านการแสดง ดนตรี ศิลปะในเครื่องแต่งกายแต่งหน้า ฉาก แสง สี เสียง วรรณศิลป์

ความสำคัญของนาฏศิลป์
นาฎศิลป์ไทยเป็นศิลปะประจำชาติ เอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งบ่งบอกว่าเราคือคนไทยจะไม่เหมือนกับนาฎศิลป์ประเทศอื่นถึงแม้จะมีประเทศใกล้เคียง มีลักษณ์คล้ายเราแต่เราก็จะมีเอกลักษณ์ประจำชาติของเรา
ในการศึกษานาฎศิลป์จะมีประโยชน์หลายๆด้านดังนี้
1. ด้านบุคลิกภาพ
2. ความอดทน รู้จักเป็นผู้นำผู้ตาม กล้าแสดงออก ความมั่นใจในตนเอง การรู้จักสังเกต 
นาฎศิลป์ไม่ได้เน้นที่ความสวยงามอย่างเดียว จะได้ทักษะต่างๆของผู้เรียนต้องเป็นคนที่ช่างสังเกตและมีไหวพริบ

ฝากอะไรถึงนาฎศิลป์ไทยบ้างครับ ?
นาฎศิลป์ไทยเป็นนาฎศิลป์ประจำชาติ ถ้าเราไม่มีนาฎศิลป์ไทยเราก็คงไปบอกใครไม่ได้ว่าเราคือคนไทย
เพราะนั้นนาฎศิลป์ไทยเป็นสัญลักษณ์ของประเทศที่เห็นจะรู้เลยว่าเป็นคนไทย นี่คือการแสดงออกของนาฎศิลป์ไทย ซึ่งมีความละเอียดอ่อนในยุคปัจจุบันเรามีการดัดแปลงเยอะแยะมากมาย เพื่อให้เข้ากับความต้องการของกลุ่มเยาวชนแต่ละกลุ่ม แต่การดัดแปลงของศิลปินก็ไม่ทิ้งความเป็นไทย เพราะฉะนั้นนาฎศิลป์ก็จะอยู่ได้ เพราะเราการพัฒนาตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสังคมแล้วก็สิ่งแวดล้อมใน ณปัจจุบัน



                                  

ต่อไปเป็นการนำเสนอการแสดงชุด เงาะรจนา ตอน รจนาเสี่ยงพวงมาลัย

เป็นการรำคู่ รำเป็นคู่เป็นตอน
รำรจนาเสี่ยงพวงมาลัย ปรากฏในการแสดงละครนอก ซึ่งเป็นละครรำที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเป็นละครที่ได้พื้นฐานมาจากละครชาตรี ลักษณะการแสดงใช้ผู้ชายแสดงล้วน มุ่งดำเนินรวดเร็ว กระบวนท่ารำไม่ประณีต พิถีพิถัน ทั้งยังไม่เคร่งครัดจารีตประเพณี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล่านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสิน ทรงได้ริเริ่มให้นางละครของหลวงแสดงละครนอกตามแบบอย่างละครชาวบ้าน โดยทรงเลือกบทละครนอกครั้งกรุงเก่า เฉพาะตอนที่ทรงเห็นว่าน่าเล่นละครมาทรงแก้ไขปรับปรุงสำนวนกลอนให้กระชับ และเหมาะแก่การแสดง แต่ยังคงความหมายเดิมอย่างครบถ้วน จึงเกิดเป็น “ละครนอกแบบหลวง”ขึ้น กล่าวกันว่า หลังจากทรงพระราชนิพนธ์กลอนบทละครแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงประดิษฐ์กระบวนท่ารำประกอบ บางครั้งถึงกับทรงต้องปรับแก้กระบวน


รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       รจนาเลือกคู่ หรือรจนาเสี่ยงพวงมาลัย เป็นการแสดงที่มีลักษณะพิเศษตอนหนึ่ง ในบทละครเรื่องสังข์ทอง ซึ่งมีพระสังข์เป็นพระเอก และรจนา เป็นนางเอก ในตอนรจนาเสี่ยงพวงมาลัยนี้มีชื่อเรื่องว่า พระสังข์ซึ่งตัวจริง รูปร่างสวยงาม ผิวเป็นทองทั้งตัว แต่แกล้งปลอมแปลงตัวโดยเอารูปเงาะเข้าสวมใส่แล้วแกล้งทำเป็นบ้าใบ้ พระสังข์ในตอนนี้จึงถูกเรียบตามรูปนอกว่า เจ้าเงาะแล้วถูกพามาให้เจ้ารจนา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเลือกคู่ เนื่องจากเป็นบุปเพสันนิวาส นางรจนาจึงมองเห็นรูปทองข้างในของเจ้าเงาะ แล้วทิ้งพวงมาลัยให้เพื่อเลือกพระสังข์ คือเจ้าเงาะปลอม เป็นสวามี
       ท่ารำของเงาะ เป็นท่าที่อาจารย์ทางนาฏศิลป์ได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพิเศษ ไม่เหมือนท่ายักษ์ ไม่เหมือนท่าพระ (มนุษย์) และไม่เหมือนท่าลิง เป็นท่ายักษ์ปนมนุษย์กลายๆ และเพลงหน้าพาทย์ประกอบการไปของเงาะ การใช้เพลง กลมคลายกับที่ใช้กับเทวดา จึงนับว่าการรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ 

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
       ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม
       เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลง ลีลากระทุ่ม เพลง ลมพัดชายเขา เพลงเชิดฉิ่ง และเพลงเร็ว - ลา
เครื่องแต่งกาย
       ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง เจ้าเงาะสมศีรษะเงาะ นางรจนา ศิราภรณ์ รับเกล้ายอดเกล้า


โอกาสที่ใช้แสดง
เผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม และเผยแพร่ให้ประชาชนชม



บทสังเกตการณ์
จากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยมาได้ทราบถึงความเป็นมาของนาฏศิลป์ว่าตั้งแต่ยุคสมัยก่อนนั้นที่จะเกิดนาฏศิลป์มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย นั้นเราก็สามารถที่จะนำนาฏศิลป์ไทยมาเผยแพร่ให้กับคนยุคปัจจุบันเพื่อที่จะให้เขาได้รู้ว่านี่คือมรดกล้ำค่าของไทย ที่เราไปสัมภาษณ์มาเราได้เห็นชุดการแสดงต่างๆมากมายของวัฒนธรรมไทย ซึ่งทำให้เราได้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมากมาย เช่นชุดการแสดงต่างๆ แต่งหน้า แต่งตัวและฉากแสงสีเสียง การเรียนนาฏศิลป์ต้องมีสมาธิมีไหวพริบ นอกเหนือจากนี้นาฏศิลป์ไม่ได้สอนให้เราได้รู้จักเกี่ยวกับการลำเพียงอย่างเดียวแต่นาฏศิลป์สอนให้รู้จักการเป็นผู้นำและด้านบุคลิกภาพต้องรู้จักความอดทนการแสดงออกมั่นใจในตัวเองและรู้จักสังเกต



ผู้เชี่ยวชาญ อ.วิลาวัลณ์ วัชรเกียรติศักดิ์(อาจารย์สอนนาฎศิลป์)





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น